วิธีการฝังเพชรในแบบต่าง ๆ
06/21/2021 11:34:48
Comments
0
ใครยังไม่รู้ว่าการฝังเพชรนั้นมีแบบไหนบ้าง ลองอ่านกันนะคะ
วิธีการฝังเพชรในแบบต่าง ๆ
1. Prong Setting (ฝังแบบหนามเตย)
เป็นวิธีการฝังที่นิยมมาก มักใช้กับเพชรกลม เรามักจะเห็นแหวนเพชรที่ใช้เป็นแหวนหมั้น แหวนเพชรแต่งงานของผู้หญิงใช้ วิธีการฝังแบบหนามเตยโดยเป็นส่วนใหญ่ เพราะช่วยทำให้เพชรดูโดดเด่นเป็นพิเศษ มีทั้งแบบ 4 เตย 6 เตย หรือ 5 เตย แล้วแต่ดีไซน์ ข้อดีของการฝังแบบหนามเตย คือสามารถเห็นตัวเลขของเลเซอร์ที่ขอบเพชรได้ชัดเจน มีพื้นที่ที่ในการยึดเกาะเพชรน้อยทำให้แสงสามารถลอดผ่านเพชรได้เต็มที่ ทำให้เพชรสามารถส่องประกายไฟได้ดี ถึงแม้ว่าหนามเตยจะมีขนาดเล็กแต่เราก็สามารถใส่ไอเดียในการออกแบบลงไปทำให้เครื่องประดับของเราดูโดดเด่นและแตกต่างไม่เหมือนใครได้ เช่น หนามเตยรูปหัวใจ หนามเตยเป็นรูปสามเหลี่ยม
2. V Prong Setting (ฝังแบบหัวเรือ)
การฝังใกล้เคียงกับการฝังแบบหนามเตย แต่ขอบที่ฝังจะเป็นรูปตัว V ทำมุมกับเหลี่ยมมุมของเพชรพอดี จึงเหมาะกับเพชรที่มีเหลี่ยมมุมเพราะใช้ในการป้องกันการบิ่นหรือแตกได้ดี อย่างเช่นเพชร Princess , Marquise หรือในส่วนปลายแหลมของเพชรหัวใจ
3. Bezel Setting (ฝังแบบหุ้ม)
การฝังแบบนี้ เราจะใช้ขอบทอง หุ้มขอบรอบเพชร ข้อดีคือ ทำให้เพชรดูเม็ดใหญ่ขึ้น และขอบทองจะช่วยรักษาตัวเพชรไม่ให้ไปกระแทกวัตถุอื่น ๆ ในเวลาสวมใส่ แต่ข้อเสีย คือ ทำให้เพชรไม่ค่อยมีไฟรวมทั้งมีพื้นที่ในการยึดเกาะเพชรรอบทั้งเม็ด จึงทำให้การฝังหุ้มเป็นการฝังเพชรที่แข็งแรงที่สุดในวิธีการฝังทั้งหมด
4. Channel Setting (ฝังแบบสอด)
การฝังสอด ใช้สำหรับการฝังเพชรเป็นแถว โดยตัวเรือนจะมีลักษณะเป็นช่องว่าง ๆ ให้สอดเพชรเข้าไปทีละเม็ดใช้ขอบของทองในการยึดเกาะเพชรลักษณะการฝังสอด มีข้อเสีย คือจะทำให้เพชรดูเม็ดเล็กลงกว่าเม็ดจริงเล็กน้อย เนื่องจากขอบ 2 ด้านถูกขอบทองบัง และช่างต้องมีความชำนาญในการแก้ไซส์แหวน เพราะจะทำให้กระทบกับตัวเพชรที่ฝังเป็นแถว หรือการล้างทำความสะอาดเครื่องประดับเพราะเพชรอาจจะหลุดออกจากตัวเรือนได้ง่าย แต่ก็เป็นการฝังเพชรที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเพชรจะส่องประกายสวยกว่าวิธีการฝังอื่นๆ
5. Pave Setting (ฝังแบบจิกไข่ปลา)
วิธีการฝังแบบจิกไข่ปลาจะเหมาะกับดีไซน์ที่ต้องการความระยิบระยับ เพราะทำให้เพชรเม็ดเล็กดูกลืนๆ ออกมาเป็นเหมือนเพชรแวววาวในพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างเช่น การฝังเต็มพื้นที่แหวน และ นอกจากการคัดเพชรให้มีเหลี่ยมการเจียระไนที่สวย สี และขนาดที่ใกล้เคียงกันแล้วการเลือกขนาดของเพชรให้เหมาะกับขนาดของพื้นที่ก็มีผลต่อความสวยงามของเครื่องประดับ
6. Tension Setting (ฝังแบบหนีบ)
เป็นการใช้โลหะสองฝั่งในการยึดเกาะเพชรเอาไว้ นิยมใช้กับแหวนที่ตัวเรือนเป็น Platinum เนื่องจาก Platinum มีความเหนียวมากกว่าทอง จึงแข็งแรง และสามารถยึดเกาะเพชรได้ดีกว่า แหวนลักษณะแบบนี้ไม่เหมาะกับการใช้งานแบบสมบุกสมบัน แต่แหวนที่ใช้การฝังแบบนี้จะมีลักษณะเรียบง่ายแต่ดูดีมีสไตส์ สามารถโชว์ความสวยงามของเพชรได้เต็มที่ แต่ถ้าใครชอบแหวนลักษณะการฝังแบบนี้ก็ควรจะใส่ด้วยความระมัดระวังมาก ๆ เพราะพื้นที่ในการยึดเกาะเพชรมีน้อย
7. Bar Setting (ฝังแบบหนีบหลาย ๆ เม็ด)
การฝังแบบหนีบ แต่หนีบหลายๆเม็ด ซึ่งความแข็งแรง ก็จะใกล้เคียงกับ Tension คือ ไม่แนะนำให้ใส่ทุกวัน หรือใส่แบบสมบุกสมบัน เนื่องจากพื้นที่ของเนื้อทองที่ใช้ในการยึดเกาะกับเพชรมีน้อย ดังนั้น
อาจจะหลุดได้ง่ายกว่า ถ้าเทียบกับการฝังเพชรแบบอื่น ๆ
8. Flush setting (ฝังแบบเหยียบหน้า)
จะฝังเพชรจมลงไปในเนื้อโลหะ หน้าเพชรจะเสมอกับตัวเรือน วิธีการฝังแบบนี้เหมาะกับการฝังเพชรขนาดเล็กลงบนแหวนเกลี้ยง แหวนปลอกมีด จี้เล็ก ๆ หรือแหวนคู่ เพราะช่วยทำให้เครื่องประดับดูสะอาดตามากกกว่าการใช้หนามเตยหรือการจิกไข่ปลา
9. Invisible setting (ฝังไร้หนาม)
เป็นการฝังที่ไม่มีเนื้อโลหะมาบดบังความสวยงามของเพชรเลย เป็นการฝังที่ยากที่สุดต้องอาศัยความปราณีตของช่างเป็นอย่างมาก และเพชรที่คัดแต่ละเม็ดจะต้องพอดีกับตัวเรือน ใช้ความแม่นยำในเรื่องของขนาดของเพชร เหมาะกับรูปทรงเพชร สี่เหลี่ยมprincess ,สี่เหลี่ยมคางหมู baguette หรือเพชรสามเหลี่ยม เพราะสามารถทำให้ชิดแนบสนิทกันโดยไม่เกิดช่องว่างได้ดีที่สุด บางครั้งอาจนำเพชรสี่เหลี่ยม และเพชรมาคีมาประกบกันดูเหมือนเพชรกลมเม็ดใหญ่ หรือเพชรหยดน้ำ 2 เม็ด กับเพชรสี่เหลี่ยมประกบกัน ดูเหมือนเพชรหัวใจเม็ดใหญ่ การฝังไร้หนามลักษณะนี้ เราเรียกว่า Illusion Setting นะคะ
Leave a Reply Cancel Reply